เมื่อฉันมีลูกช้า

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
เมื่อฉันมีลูกช้า
เมื่อฉันมีลูกช้า
คุณก้อย พนักงานออฟฟิศวัย 36 ปี เพิ่งแต่งงานสร้างครอบครัวได้ปีกว่า กับคุณเกม วิศวกรหนุ่มใหญ่วัย 50 ปี
ทั้งคู่แพลนจะมีลูกเลย จึงไปปรึกษาคุณหมอ ตรวจร่างกาย เตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนแต่ง ด้วยความโชคดี
สุขภาพแข็งแรงดีทั้งคู่ หลังแต่งเพียงไม่กี่เดือนก็มีข่าวดี ตอนนี้คุณก้อยและสามีได้ลูกสาวสมใจชื่อ น้องยินดี (เคสจริง ชื่อสมมติทั้งหมดนะคะ)
👫 คุณก้อยคุณเกม มีหน้าที่การงานดี เงินเก็บก็มีพอสมควร รายรับทั้งคู่เทียบกับรายจ่ายปัจจุบันที่มี ถือว่ากระแสเงินสดสุทธิเป็นบวก (รายรับมากกว่ารายจ่าย) และไม่มีหนี้สิน
📌 มีความตั้งใจที่จะวางแผนเก็บเงินให้ลูกที่เพิ่งคลอด และมีความกังวลเรื่องเกษียณของตัวเองด้วยเหมือนกัน
==> ในฐานะนักวางแผนการเงิน ถามว่ามีอะไรให้ต้องประเมินไหม
➡️ รายจ่ายที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายครอบครัว ค่าใช้จ่ายกินอยู่ของลูก ค่าเล่าเรียนเทียบกับรายรับที่เหลือของทั้งคู่ เพียงพอหรือไม่
➡️ ปัจจุบัน คุณเกม สามีมีรายได้มากกว่าคุณก้อย และจะเป็นคนรับภาระ คชจ. หลักของลูก แต่อีก 10 ปี คุณเกม อายุ 60ปี เกษียณอายุ (บริษัทอาจจ้างเป็นที่ปรึกษา) ตอนนั้นลูกสาวอายุ 10 ขวบ ยังอยู่ประถม ยังเรียนไม่จบ
➡️ ตอนนี้เงินปัจจุบันที่มี รวมกับเงินที่จะได้รับตอนเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) , RMF, เงินลงทุนอื่นๆ จะเป็นเท่าไร พูดง่ายๆ เงินสำหรับตัวเองตอนเกษียณจะเพียงพอไหม
➡️ ถ้าสามีหยุดทำงาน ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะยังมีรายได้เข้ามาไหม (passive income หรือเงินที่เกิดจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ มีหรือไม่)
➡️ ถ้าไม่มีรายได้เข้ามา เงินเก็บของสามีหรือทั้งคู่เพียงพอสำหรับ คชจ. ลูกไหม หรือ คุณก้อยต้องทำงานเพื่อรับผิดชอบคชจ.ตรงนี้เพียงลำพัง แล้วจะแบ่งเก็บเพื่อเกษียณของตัวเองยังไงดี
➡️ หากระหว่างทางก่อนเกษียณ คุณเกม เกิดไม่สบายหนัก ทำงานไม่ได้ หรือถูกให้ออกจากงานกะทันหัน หรือแม้แต่กรณีเสียชีวิต จะรับมืออย่างไร
➡️ ในทางกลับกัน หากมีอะไรไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับคุณก้อย จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง
อันนี้เป็นประเด็นหลักๆที่นักวางแผนการเงินต้องนำมาพิจารณา ซึ่ง #การวางแผนการเงินแบบองค์รวม จะใช้ความรู้ในหลายๆด้านประกอบกัน
> พิจารณาตัวเลข รายรับรายจ่าย คชจ.เฉลี่ยต่อเดือนเป็นเท่าไร – Emergency Cash (การสำรองเงินฉุกเฉิน)
> สอบถามว่า ลูกจะเรียนที่ไหน ถึงระดับไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไร – Education Planning (วางแผนการศึกษาบุตร)
> ประเมิน life style หรือตัวเลขที่ต้องการมีไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ – Retirement Planning (วางแผนเกษียณ)
> ตรวจสอบดูว่าประกันสุขภาพ ชีวิต อุบัติเหตุที่มี เพียงพอหรือไม่ – Insurance Planning (วางแผนการประกัน)
> แนะนำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ – Investment Planning (วางแผนการลงทุน)
> เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับภาษี และรู้จักใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า – Tax Planning (วางแผนภาษี)
.
เมื่อฉันมีลูกช้า
.
นี่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดถึงแผน ถึงข้อเสนอแนะ ถึง Solutions/Recommendations กันเลย แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า กระบวนการในการวางแผนการเงินมีหลายขั้นตอน ใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะเวลาที่รวบรวมข้อมูล หากผู้รับคำปรึกษาให้ข้อมูลยิ่งมากย่ิงละเอียดเท่าไร นักวางแผนการเงินก็จะสามารถทำแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้รับคำปรึกษาหรือลูกค้ามากเท่านั้น
.
ในตลาดปัจจุบัน เราอาจจะพบเจอคนที่มุ่งไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งในทันที หรือไปที่ตัวสินค้า จนดูเหมือนว่าเป็นการขายของ เลยอาจทำให้หลายคนเข้าใจการทำงานของนักวางแผนการเงินที่คลาดเคลื่อนไป …ฝากไว้เท่านี้นะคะ ^^
คุณแม่อุ้ย #KanyaweeR
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
หากเนื้อหามีประโยชน์ กด like กด share เป็นกำลังใจให้ด้วยน้าแล้วอย่าลืมกดติดดาว(see first) จะได้ไม่พลาดเนื้อหาในโพสต์ถัดไปค่ะ^^
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา