เมื่อไรที่แม่ควรคิดถึงแผนเกษียณของตัวเอง EP.3

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®

#เมื่อไรที่แม่ควรคิดถึงแผนเกษียณของตัวเอง EP.3

📌📌 แล้วเราต้องเก็บเงินเท่าไรถึงเกษียณได้

แม่ๆคงทราบกันไปแล้วว่า ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อเงินออมของเรา
ใน EP.1 (นั่นก็คือ #เงินต้น #ผลตอบแทน #เวลา) และยิ่งออมก่อนก็รวยก่อน

ส่วน EP.2 แล้วเราต้องเตรียมเงินเกษียณเท่าไร ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง คงได้เห็นตัวเลขกันไปแล้ว

ในตอนนี้ EP.3 เราจะมาคุยกันว่า แล้วเราต้องเก็บเงินเท่าไรถึงเกษียณได้

จากตัวอย่างเดิม หากตอนนี้อายุ 35 ปี เงินเกษียณที่ควรเตรียมไว้ใช้ต่อเดือน เดือนละ 50,000 บาท ในช่วงอายุ 60-85 ปี เป็น 31,406,675 บาท (คิดเผื่ออัตราเงินเฟ้อ 3%)


จะเห็นได้ว่า เงินตั้ง 31.4 ล้าน แค่ฟังก็จะเป็นลมแล้ววว
แล้วจะเกษียณได้ไหมนี่ ช้าก่อนค่า เราต้องมาดูว่า ตอนนี้สินทรัพย์ที่เรามี มีอะไรบ้าง ก้อนไหน ส่วนไหนที่เตรียมไว้สำหรับเกษียณ เช่น มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม มีลงทุนใน LTF, RMF หรือเปล่า เงินออมในแบงค์ ในพอร์ตหุ้นเป็นเท่าไร แล้วมีประกันอะไรบ้าง เป็นต้น

ลองลิสต์ออกมาค่า หากปัจจุบัน สินทรัพย์ที่มี คือ
* LTF 2,000,000 บาท
* RMF 500,000 บาท
* เงินฝากธนาคาร 100,000 บาท
สมมติว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยก่อนเกษียณของ LTF, RMF เป็น 7%, 5% ต่อปี และ มีการออมเพิ่มปีละ 120,000 บาท ใน LTF และ 100,000 บาท ใน RMF (ออมเท่ากันทุกปี)

ลำพังแค่สองก้อนนี้ คุณก็จะมีเงินเกษียณ
จาก LTF เป็น 18,444,750 บาท
จาก RMF เป็น 6,465,887 บาท
รวมเป็น 24,910,637 บาท 😗😗😙

ส่วนต่างอีก 6,496,038 บาท นั้นคือส่วนที่ ต้องมาเก็บเพิ่ม (นอกจาก LTF และ RMF)

หากเราหาผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ได้ 6% นั่นคือ เราเก็บเพิ่มอีกแค่ปีละ 118,401 บาท ตอนนี้ที่อายุ 35 จนถึง 60 เราก็จะมีเงิน 31.4ล้าน เอาไว้ใช้ตอนเกษียณแล้วค่า (ฟังดูง่ายเนอะ ^0^)


มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนที่ไม่ได้มีพื้นฐานการคำนวณอาจจะงงกับตัวเลขอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นไรค่า อุ้ยอยากให้เห็นภาพ เห็นแนวทางคร่าวๆในการวางแผนเกษียณให้กับคนๆนึง โดยทั่วไปแล้ว เราคำนึงถึงอะไรบ้าง แผนแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

ส่วนเราจะหาผลตอบแทน 5%, 6% หรือ 7% ได้จากที่ไหน ย่อมมาจากการศึกษาหาความรู้ ไว้โพสต์หน้า อุ้ยจะมาพูดถึงกองทุนรวมกันบ้างนะคะ

สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้ว่า นอกจากการเริ่มต้นออมที่เร็วจะช่วยให้เราได้เปรียบ …ความสม่ำเสมอ ความมีวินัยในการออมก็สำคัญมากเช่นกัน จากตัวอย่างข้างต้น หากขาดวินัย ไม่ได้ออมในกองทุนทุกปี หรือทนถือ LTF ยาวไม่ได้ จะครั่นเนื้อครั่นตัว ครบ 7ปีปฏิทินแล้ว ชั้นต้องขาย ก็อย่าเอา LTF มาเป็นเครื่องมือวางแผนเกษียณเลย

#ด้วยรัก

 

error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา