นักวางแผนการเงินทำงานกันอย่างไร

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®

#นักวางแผนการเงินทำงานกันอย่างไร (ยาวอีกแล้วค่า ^0^)

หลายคนได้ยินเรื่องวางแผนการเงิน เห็นเค้าว่ากันว่ามันดี แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วการวางแผนการเงินมันคืออะไรกันนะ

– การซื้อประกันหรอ
– การซื้อกองทุนหรอ
– การเน้นเรื่องภาษีหรอ
– การออมระยะยาวหรอ
– การลงทุนอย่างเดียวหรอ
…และอื่นๆ อะไรอีกละ 😆😂

คือไม่รู้ว่าเข้าใจกันแบบไหน แต่ที่เล่ามาด้านบน เป็นส่วนนึงของการวางแผนการเงินทั้งสิ้น งั้นเราลองมาดูกันสิว่า

🔑 #ขั้นตอนการวางแผนการเงิน มีอะไรบ้าง จะได้เห็นภาพ

1️⃣ #ประเมินและวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับคำปรึกษา
มักเป็นการพบเจอกันครั้งแรก เพื่อทำความรู้จักกัน ประเมินทัศนคติทางการเงิน พูดคุย scopeงานด้านวางแผนการเงิน ว่าเป็นอย่างไร หากผู้รับคำปรึกษาเล็งเห็นถึงประโยชน์ และอยากให้วางแผนให้ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

** จะบอกว่าขั้นตอนนี้ #เหมือนการดูตัว 😂🤣 อร้าย นี่พูดตรงไปรึเปล่าเนี่ย คุณเลือกได้ คนก็มีหลาย type สุดท้ายก็ต้องเลือกคนที่เคมีตรงกัน ถ้าคุณเป็นคนไม่ชอบตัวเลข อะไรเยอะๆ ขอสั้นๆ ตรงประเด็น detail ไม่ต้อง ก็อาจต้องเลือกนักวางแผนการเงินที่ type เดียวกัน

แต่ถ้าสายละเอียด ตัวเลขต้องเป๊ะ ข้อมูลsupport ต้องมี logicต้องได้ อันนี้ก็ต้องเลือกให้ตรงจริต (ประเภทหลังนี่ คุณจะคุยกับดิชั้นรู้เรื่องค่ะ😚)
.
.

2️⃣ #เก็บรวบรวมข้อมูล เราจะเจอกันเพื่อเก็บข้อมูลทางการเงิน ทั้งเชิง qualitative และ quantitative รวมถึงเป้าหมายการเงินต่างๆ เช่น

“ผมอยากเกษียณอายุสัก 45 ครับ”
(บางทีก็ต้องถามว่าพี่จะรีบไปไหนคะ ..อ่อ ไม่ใช่ค่า แล้วพี่มีแพลนจะไปทำอะไรหลังเกษียณคะ?)

“อยากส่งลูกเรียนปริญญาตรี โท ที่อังกฤษค่ะ”

ไม่ว่าจะเป้าหมายใด input ที่จำเป็นคือข้อมูล ซึ่งถ้าใครทำบัญชีรายรับรายจ่าย อยู่แล้วจะไม่ยาก นักวางแผนการเงินจะช่วยประเมินสุขภาพการเงินของคุณได้ ^^

*** บางรายที่ผู้รับคำปรึกษา (ลูกค้า) เข้าใจอยู่แล้ว และอยากให้เราวางแผนให้ ในบางครั้ง first meeting ของอุ้ยจะเก็บข้อมูลมาเลยค่า ก็จะบอกให้เตรียมข้อมุลมาล่วงหน้า ***
.
.

3️⃣ #วิเคราะห์ข้อมูล
เราจะนำข้อมูลและเป้าหมายการเงินของลูกค้ามาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ และเช็คสุขภาพการเงินให้ เช่น มีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพอหรือยัง มีหนี้สินมากไปหรือเปล่า สัดส่วนการลงทุนเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง เป็นต้น
.
.

4️⃣ #จัดทำและนำเสนอแผนทางการเงิน
พูดง่ายๆว่า นำข้อมูลมาสรุปให้ฟัง ถ้าเป้าหมายไหนที่ยังขาดอยู่ แล้วเราจะมีวิธิจัดการกับตรงนั้นอย่างไร ซึ่งเอาจริงๆสิ่งที่แนะนำไป ก็ต้องมานั่งคุยกันว่า ผู้รับคำปรึกษาเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ต้องมีการปรับในส่วนไหน (ถ้านักวางแผนการเงินคนไหนที่มีใบอนุญาต ก็นำเสนอสินค้าทางการเงินได้)
.
.

5️⃣ #ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
อุ้ยเคยย้ำหลายครั้ง ว่า…

แม้แผนจะดีเพียงใด
แต่ถ้าเราไม่ลงมือ
ก็ไม่มีประโยชน์
เสียเวลาเปล่า

เห็นด้วยไหม (คมเนอะ 😂😚)
.
.
6️⃣ #ทบทวนและตรวจสอบแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้แผนการเงินนั้นทันสมัย หรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง(อย่างรวดเร็ว) นั่นคือ อย่างน้อยต้องเจอกันปีละครั้ง

หรือ ระหว่างทางเพื่อไปถึงเป้าหมายนั้นๆ อาจจะมีปัจจัยอะไรเข้ามาก่อน เช่น

  • ต้องย้ายบ้านย้ายที่ทำงาน
  • จะแต่งงานแล้วนะ
  • มีลูกคนแรกแล้วละ
  • อยากซื้อบ้านใหม่
  • และอื่นๆอีกมากมาย

เราก็อาจจะต้องมาเจอกันก่อนเพื่อปรับแผนค่า ทีนี้เข้าใจหรือยังว่าทำไมถึงเขียนอธิบายข้อ 1 ว่าเหมือนการดูตัว คือเราต้องเจอกันไปยาวๆๆ ถ้าเคมีไม่ตรงกันแล้วละก็…

✏️ เอาละค่า น่าจะเห็นภาพกว้างๆ เราทำงานกันประมาณนี้ เพราะทุกวันนี้ใครๆก็เรียกตัวเองว่าที่ปรึกษาการเงิน นักวางแผนการเงิน ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณที่จะสกรีน หรือไปเลือกเอาเอง

เลือกที่คุณได้ประโยชน์มาก่อน ส่วนเรื่องคุณวุฒิหรือใบอนุญาตต่างๆก็ควรพิจารณาประกอบ ทฤษฎีแน่นก็ไม่สู้ประสบการณ์ที่สั่งสมมา ประสบการณ์ในสนามจริงสำคัญมากค่า 😊 #ด้วยรัก

error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา