เงินสำรอง หรือ เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash)

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
เงินสำรองฉุกเฉิน
#เงินสำรอง หรือ เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash) หลายคนรู้ดีว่า #มันต้องมี 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
จริงๆแล้วมันคือหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประเมินว่าสุขภาพการเงินเป็นยังไง ในแง่สภาพคล่อง (Liquidity)
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio)
= สินทรัพย์สภาพคล่องรวม
_______________________
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
📍 สินทรัพย์สภาพคล่องรวม ก็คือพวกเงินสด (เงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝาก) และสินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ในทันที (เงินในกองทุนตลาดเงิน หรือตราสารหนี้)
📍 ค่าใช้จ่ายต่อเดือน อย่างค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าประกัน ค่าเล่าเรียนลูก ค่าแม่บ้าน ค่าพี่เลี้ยง etc.
เราอาจจะได้ยินว่าเพื่อนของเรา ถูกเลิกจ้างงาน
หรือรายได้ลดลงเนื่องจากถูกลดชั่วโมงการทำงาน
มีรายได้ไม่สม่ำเสมอเหมือนเดิมแล้ว
บริษัทหลายแห่งต้องให้พนักงานสลับกันหยุดโดยไม่รับค่าจ้าง
เพราะเริ่มแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว ต้นทุนเดินไป
แต่รายได้เริ่มไม่เข้า อย่างที่เรารู้กันตามข่าว
แม้บางคนจะยังไม่ประสบปัญหานี้ มีงาน มีรายได้
แต่ก็ไม่อาจรู้ได้เลยว่า “วันไหน จะเป็นเรา?”
บางคนหนักหน่อย ประสบอุบัติเหตุหรือมีปัญหาสุขภาพ
ต้องหยุดงาน ต้องพักฟื้น ก่อนจะกลับไปทำงานได้อีกครั้ง
หรือสาเหตุอื่นๆที่ไม่คาดคิด
– เงินซื้อเจลแอลกอฮอล์?
– เงินซื้อหน้ากากอนามัย?
– เงินซื้อเครื่องฟอกอากาศ?
– เงินเติมในพอร์ตด่วนจี๋?
หลายคนอาจจะมีเหลือเฟือ อยู่ได้ยาวๆปีหรือสองปี
หลายคนอาจจะมีพร้อม 6 เดือน ก็ไม่น่าห่วงเท่าไร
หลายคนก็อาจจะมีแค่ 1-2 เดือน ก็ยังดีกว่าไม่มีนะ
และหลายคนก็อาจจะ ไม่มีเลย แล้วจะทำยังไงดีละ
เพราะเราไม่รู้เลยว่า วันข้างหน้า
สถานการณ์จะเลวร้ายลงกว่านี้ไหม
ถ้าวันนี้คุณยังมีรายได้อยู่ คุณโชคดีแล้ว
เริ่มทยอยเก็บทีละนิด สัก 5% หรือ 10% ค่อยๆเพิ่มเอา
บางคนแม้รายได้จะหายไป แต่ใจต้องเข้มแข็งนะคะ
ตั้งสติ มานั่งทบทวนดูว่า เงินสำรองที่มีพอไปอีกกี่เดือน
ค่อยๆไล่ไปว่าสินทรัพย์ไหนพอจะแปลงเป็นเงินสดได้ก่อน
ถ้าหารายได้เพิ่มได้ ..ทำ
ถ้าลดรายจ่ายได้ ..ทำ
คุณแม่อุ้ย #KanyaweeR
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา