ผมอยากเกษียณแล้ว

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
ผมอยากเกษียณแล้ว
ผมอยากเกษียณแล้ว
#ผมอยากเกษียณแล้ว ทำได้ไหม (ยาวอีกแล้ว ^0^)
คุณจุน กับภรรยาคุณแจน อายุ 54 ทั้งคู่ คุณจุนเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีบุตรสาวหนึ่งคนใกล้จบปริญญาตรีแล้ว คุณจุนมาปรึกษาว่าถ้าเค้าอยากจะลาออกปีหน้าเมื่ออายุ 55 แล้วเงินเก็บที่มีอยู่จะเพียงพอหรือไม่สำหรับชีวิตวัยเกษียณของเค้าและภรรยา แพลนตอนแรกตั้งใจจะทำงานไปเรื่อยๆถึงอายุ 60 แต่เพราะความกดดัน เบื่อหน่ายในงานเลยคิดจะเกษียณก่อนกำหนด คุณจุนมีปัญหาสุขภาพที่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ ตอนนี้เบิกสวัสดิการบริษัทได้ทั้งหมด ตอนนี้เริ่มมองหาประกันสุขภาพสักฉบับ
ถ้าเป็นคุณจะทำยังไงบ้าง
📍เคสนี้อุ้ยสอบถามก่อนว่า
ตอนนี้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนคนละเท่าไร
ยังมีหนี้อะไรที่ต้องผ่อนไหม
คิดว่าเกษียณแล้ว มีProject จะทำอะไรหรือเปล่า
และจะเที่ยวปีละกี่ครั้ง และอีกมากมาย
เรานั่งคุยกันแค่ประเด็นนี้ก็เกือบครึ่งวันแล้ว
เพราะมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่คนทั่วไปมักลืม
นักวางแผนการเงินต้องชี้ให้เห็น
บางครั้งเราอาจจะดูเหมือนมองโลกในแง่ร้าย
แต่เราแค่ให้ทุกคนมองโลกด้วยความเป็นจริง
ชีวิตล้วนแล้วแต่ไม่แน่นอน
………………………………………….
เมื่อปลายปีที่แล้วอุ้ยได้มีโอกาสไปบรรยาย
ให้กับพนักงานที่จะเกษียณของบริษัทแห่งหนึ่ง
น้องฝ่าย HR มีfeedback มาเบาๆว่า
ทำให้พนักงานรู้สึกหดหู่ไปหรือเปล่า
อันนี้คงแล้วแต่มุมมองแต่ละคนค่ะ
หากการนำเสนอข้อเท็จจริงบางอย่าง
การให้พี่พนักงานได้ตระหนัก
เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายมากขึ้น
ทำให้ตีความไปได้อย่างนั้น ก็ต้องขออภัยจริงๆ
เพราะไม่อยากได้ยินว่า เงินเก็บเพื่อเกษียณของป้า
หมดไป ถึง 1ใน3 ในช่วง 3-4 ปีแรก
ไม่อยากเจอเคสคุณแม่วัยเกษียณ
ที่เงินก้อนใหญ่หมดไปกับค่าเรียนปริญญาโทของลูก
ต้องมากังวลว่าแล้วเงินจะพอใช้ไหม
ไม่อยากเห็นภาพของผู้ใหญ่วัยเกษียณที่ไปหยิบยืมใคร
หรือลูกต้องเป็นหนี้เพื่อมาจ่ายค่ารักษาของพ่อแม่
………………………………………….
มาต่อกันที่เคสของคุณจุนกับคุณแจน (นามสมมติเช่นเคย)
จรรยาบรรณข้อ 7 ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า
1.
เมื่อได้ตัวเลขค่าใช้จ่าย ก็ประเมินจำนวนปีที่ใช้เงินหลังเกษียณ (อยู่อีกกี่ปีนั่นแหละค่ะ)
ปรับเงินเฟ้อและผลตอบแทนที่คาดว่าจะทำได้หลังเกษียณ ได้ตัวเลขออกมาก้อนนึง
2.
คำนวณแหล่งเงินเกษียณที่จะได้รับ ทั้งเงินฝาก กองทุน ไม่ว่าจะเป็น LTF, RMF, PVD
และกองทุนรวมอื่นๆ ประกันที่มี เงินจากประกันสังคม รวมถึงเงินชดเชยที่จะได้รับด้วย
3.
ดูว่าตัวเลขในข้อ 1 และ 2 ยังขาดอีกเท่าไร ถ้าแบบเหลือๆ ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ถ้าขาดอีกเยอะ พิจารณาการลดค่าใช้จ่าย การหารายได้เพิ่ม หรือเลื่อนเกษียณออกไป
📍กรณีคุณจุน โชคดีว่าเงินขาดอีกไม่เยอะ
ตรงนี้อาศัยการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation หลังเกษียณ
และการแบ่งเงินใช้เป็นช่วงๆ 3 ช่วงของการเกษียณ (3 stages of retirement)
📍อุ้ยให้คุณจุนแบ่งเงินอีกก้อนเอาไว้
เผื่อต้องซ่อมแซม/ปรับปรุงบ้าน ไม่มีงบเปลี่ยน/ซื้อรถใหม่
คันปัจจุบันจะยกให้ลูก แล้วใช้บริการรถไฟฟ้าหรือเรียก Grabเอา
ทั้งคู่บอกสะดวกดี
แล้วยังเหลืออะไรอีก …เรื่องสุขภาพไงละ
📍เนื่องจากคุณจุนมีประวัติสุขภาพ
ดังนั้นการมองหาประกันสุขภาพสักตัว
ไม่ว่าบริษัทไหนอาจรับแบบมีเงื่อนไข/หรือมีข้อยกเว้น
อุ้ยแนะนำประกันสุขภาพค่ารักษาแบบเหมาจ่าย
และเอาให้ดูว่าเบี้ยในระยะยาวจะเป็นเท่าไร
เสนอให้นำเงินส่วนนึงมาลงในกองทุนหุ้นแบบปันผล
และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำเงินปันผลมาจ่ายเบี้ย
คุณจุนกับภรรยาโอเคทั้งคู่ อุ้ยให้กันเงินสำหรับ
ค่ารักษาพยาบาลอีกก้อนด้วยเผื่อไม่พอ
📍ทีนี้ก็ค่อยๆ take action ตามแผนที่ได้วางไว้
ทั้งคู่มีสีหน้าที่ผ่อนคลายมากขึ้น พร้อมจับมือและบอกขอบคุณ
แค่นี้ในฐานะนักวางแผนตัวเล็กๆอย่างเราก็สุขใจละค่า 🙂
คุณแม่อุ้ย #KanyaweeR
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา