ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา
แน่ละ หลายคนคงงงว่าจะถามทำไม คนได้รับซอง ก็ต้องเป็นเจ้าของสิ
พอดีไม่กี่วันก่อนได้อ่านเจอข่าวที่ลูกสาวฟ้องพ่อแม่ ที่เก็บเอาเงินอั่งเปาของตนเองไว้ จำนวน 58,000 หยวน หรือเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ประมาณ 4.4 บาทต่อหยวน ก็เป็นเงิน 255,200 บาทเลยทีเดียว เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2018
.
จริงๆแล้วใครเป็นเจ้าของเงินในซองแดงกันแน่… ลูก หรือพ่อแม่
.
.
มันเลยมีประเด็นว่า แล้วใครควรเป็นเจ้าของเงินนี้ละ ถ้าลูกได้อั่งเปามา
…มีสองความเห็นค่ะ
.
พี่น้องชาวสิงคโปร์คู่หนึ่งกล่าวว่า “พ่อแม่ของหนูก็เก็บเงินพวกนี้เอาไว้ เพื่อถัวกับเงินที่ท่านก็ต้องจ่ายไปเป็นอั่งเปาให้กับคนอื่นเหมือนกัน” พี่น้องทั้งคู่ก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร เพราะท่านทั้งสองก็พร่ำสอนเสมอว่าเงินนั้นหามายากเพียงไร
.
นักเรียนชาวสิงคโปร์อีกคนกล่าวว่า “พ่อแม่หนูบอกว่า เงินจำนวนนี้ก็มาบรรเทาค่าใช้จ่ายอั่งเปาที่ต้องแจกจ่ายออกไปเหมือนกัน” เธอคิดว่ามันก็สมเหตุสมผลดี เพราะสาระสำคัญของการให้ซองแดงนี้ ไม่ใช่ตัวเงิน แต่ เป็นการแสดงออกถึงการให้ (the act of giving)
( อุ้ยขอเสริมนิดนึงว่า จริงๆแล้วเคล็ดการให้อั่งเปานี้ เพื่ออวยพร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้รับ เพราะสีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดีค่ะ )
.
สาววัย 27 ชาวฮ่องกงบอกกับ BBC ว่าเธอก็คิดเหมือนกันว่าพ่อแม่ควรเป็นฝ่ายเก็บเงินนี้เอาไว้ เพราะท่านต้องจ่ายค่าการศึกษา ให้เงินค่าขนม ค่าใช้จ่ายรายวัน และก็ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆทุกอย่างตั้งแต่เรายังเด็ก
.
ผู้ใช้เวป Weibo รายหนึ่งกล่าวว่า “เงินนั้นตั้งใจที่จะมอบให้คุณ ดังนั้นก็ต้องเป็นของคุณสิ”
“พ่อแม่ฉันฝากเงินจำนวนนี้ในแบงค์ให้ฉัน และฉันก็จะได้รับกลับมาในภายหลัง” สาวสิงคโปร์วัย 28 รายหนึ่งกล่าว
ผู้ปกครองรายหนึ่งที่ทาง BBC สัมภาษณ์ก็เห็นด้วยว่า เด็กมีสิทธิ์ใน lucky money ก้อนนั้น
“สำหรับลูกของฉัน ฉันเก็บเงินพวกนั้นไว้ และจะคืนให้ลูกในอนาคต ฉันคิดว่าลูกควรได้รับเงินนั้น เพราะถ้าไม่มีลูก ก็จะไม่ได้รับเงินก้อนนี้มาตั้งแต่ต้นเช่นกัน”
•
•
เป็นยังไงกันบ้างคะ ป่าป๊าหม่าม้าทั้งหลาย มีความเห็นว่ายังไงกันบ้าง เห็นด้วยเหมือนกันค่ะว่า ควรเป็นของเด็กๆ ของลูกๆเรานี่ละ
.
พอได้รับเงินมาแล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อน เท่าที่อุ้ยสังเกตนะคะ มูลค่าหรือจำนวนเงินในซองไม่ได้เยอะเหมือนที่ใส่กันสมัยนี้ ( หรืออั่งเปาก็มีเงินเฟ้อกับเค้าด้วย 
)
.
ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา
.
เทียบกับตอนนี้ พอเงินมันเยอะ ทีนี้พ่อแม่ก็ต้องเข้ามาจัดการ ช่วยเก็บ ช่วยบริหาร หลายบทความที่พูดถึงการออม การบริหารเงินอั่งเปายังไงให้เป็นเศรษฐีน้อยในวันหน้า การอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ถ้าเอาไปลงทุนตอนนี้จะโตเป็นเท่าไร ด้วยผลตอบแทนแบบนี้ บลา บลา บลา
.
แม้อุ้ยจะทำงานด้านวางแผนการเงิน ส่งเสริมให้คนออม ลงทุน แต่ก็ไม่ได้เห็นด้วย 100% ถ้าจะเอาเงินอั่งเปาไปออมหรือ ลงทุน #ทั้งก้อน อย่างน้อยเด็กก็ควรได้ลิ้มลองความสุขตรงนี้บ้าง พ่อแม่ก็จะมีบทบาทตรงนี้ที่จะช่วยแนะนำ ว่าลูกควรจะแบ่งเงินยังไง ออกเป็นกี่ส่วน เก็บมาใช้จ่ายเท่าไร ส่วนไหนออม ส่วนไหนทำอะไร อาจจะเหมือนกับการแบ่งเงิน 3กระปุก แบบนี้ก็ได้ https://bit.ly/30Wvz2N
.
การบริหารเงิน ไม่เพียงแต่มองด้านการออมด้านเดียว การรู้จักการใช้จ่ายลูกก็ควรเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน หลายคนบอกว่า การใช้เงินไม่ต้องสอนหรอก เดี๋ยวก็ใช้เป็นเอง
… แต่ถ้าอยากให้ #ใช้เงินอย่างรู้คุณค่า คงไม่เหมือนกันนะคะอุ้ยว่า
สำหรับอุ้ยเอง ก็เลือกแบบนี้ละค่า เห็นต่างได้นะคะ ยังไงก็ลองปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละบ้านดูค่ะ ^^