ค่าใช้จ่ายช่วงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®

ค่าใช้จ่ายช่วงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นคุณแม่แล้ว สาวๆควรรีบไปฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจว่าตั้งครรภ์ปกติไหม และคุณแม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆหรือไม่ หากครอบครัวใดมีการวางแผนเรื่องลูกมาก่อน อาจจะไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่หากไม่ได้เตรียมคุณพ่อคุณแม่ก็ควรรีบคุยกันเสียแต่เนิ่นๆเพราะนับแต่นี้ไป ยังมีรายจ่ายอีกมากมายที่รอเราอยู่ค่ะ

1. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์

มีอัตราแตกต่างกันขึ้นกับว่าคุณแม่จะไปฝากครรภ์ที่ไหน หากเป็นโรงพยาบาลรัฐ ก็มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และหากใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือประกันสังคมก็จะประหยัดไปได้อีก รวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก ค่าตรวจและค่ายาในแต่ละครั้ง ค่าอัลตร้าซาวด์ ค่าวัคซีน เฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 บาท หากไม่มีภาวะผิดปกติหรือภาวะเสี่ยงใดๆ

หากเป็นคลินิกเอกชน หรือ รพ.เอกชน ก็ต้องเตรียมงบที่มากขึ้น โดยมากมักจะเป็นแพ็คเกจเหมาจ่ายหรืออาจจะรวมกับแพ็คเกจคลอดก็ได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 15,000-30,000 บาทกรณีไม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ

คุณหมอจะนัดตรวจประมาณ 10-14 ครั้งอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หากเราไม่ได้เตรียมไว้ก่อน อาจจะดูไม่หนักหนามากเพราะเป็นการทยอยจ่าย แต่ก็อยากให้ค่อยๆสำรองไว้ในส่วนที่เป็นเงินฉุกเฉิน หรือบัญชีออมทรัพย์นะคะ ^^

มีอัตราแตกต่างกันขึ้นกับว่าคุณแม่จะไปฝากครรภ์ที่ไหน หากเป็นโรงพยาบาลรัฐ ก็มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และหากใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือประกันสังคมก็จะประหยัดไปได้อีก รวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก ค่าตรวจและค่ายาในแต่ละครั้ง ค่าอัลตร้าซาวด์ ค่าวัคซีน เฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 บาท หากไม่มีภาวะผิดปกติหรือภาวะเสี่ยงใดๆ

หากเป็นคลินิกเอกชน หรือ รพ.เอกชน ก็ต้องเตรียมงบที่มากขึ้น โดยมากมักจะเป็นแพ็คเกจเหมาจ่ายหรืออาจจะรวมกับแพ็คเกจคลอดก็ได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 15,000-30,000 บาทกรณีไม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ

คุณหมอจะนัดตรวจประมาณ 10-14 ครั้งอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หากเราไม่ได้เตรียมไว้ก่อน อาจจะดูไม่หนักหนามากเพราะเป็นการทยอยจ่าย แต่ก็อยากให้ค่อยๆสำรองไว้ในส่วนที่เป็นเงินฉุกเฉิน หรือบัญชีออมทรัพย์นะคะ ^^

2. ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร วิตามิน

อันที่จริงหากคุณแม่กินอาหารครบห้าหมู่อยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารอาจไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่ อาจจะเพิ่มขึ้นหากเจริญอาหาร อยากกินโน่นกินนี่เป็นพิเศษ ส่วนเรื่องค่าวิตามิน เช่น โฟลิก แคลเซียม เหล็ก หรือวิตามินอื่นที่ต้องทานเพิ่มเติม โดยมากก็มักจะรวมอยู่ในค่ายาเมื่อตอนพบคุณหมอแต่ละครั้ง คุณแม่บางท่านอาจจะขอคุณหมอซื้อเอง ดังนั้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้แตกต่างกันไปในแต่ละคน มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันค่ะ

3. ค่าใช้จ่ายเสื้อผ้า และชุดคลุมท้อง

เนื่องจากเมื่อขนาดท้องใหญ่ขึ้น การใส่เสื้อผ้าชุดเดิมอาจะทำให้เราอีดอัด หรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก ดังนั้นการซื้อเสื้อผ้าที่เหมาะสมถือว่าจำเป็น และขนาดหน้าอกที่ขยายขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องซื้อชุดชั้นในเพิ่มตามสรีระของคุณแม่ด้วย ชุดคลุมท้องในปัจจุบันไม่เชยเหมือนสมัยก่อน มีหลายแบบหลายราคาให้เลือก ประมาณ 3,000-10,000 บาทเลยทีเดียว

4. ค่าครีมบำรุง หรือครีมกันท้องแตกลาย 

ผู้หญิงหลายคนกลัวว่าหลังคลอดแล้ว จะมีผิวแตกลายที่หน้าท้อง บริเวณขา หรือสะโพก จึงนิยมทาครีมบำรุงเพื่อความชุ่มชื้นเพื่อกันไว้ก่อน ครีมในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อหลายราคา ควรเลือกที่ระบุว่าสำหรับปกป้องผิวแตกลาย (stretch mark) แม่ๆหลายคนใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือเบบี้ออยล์ ก็มี เลือกให้เหมาะกับสภาพผิวของตัวเองนะคะสาวๆ ค่าใช้จ่ายประมาณ 400-2,500 บาท

5. ค่าหมอนพยุงครรภ์

หมอนนี้ถือเป็นตัวเสริมที่หลายคนบอกว่าไม่ต้องซื้อก็ได้ ใช้หมอนหรือหมอนข้างที่มีก็ได้อยู่นะ ^^ อันนี้แล้วแต่เลยค่ะ แต่บางคนบอกว่าเรื่องนอนเรื่องใหญ่ นอนไม่ได้ วันถัดไปหงุดหงิดอีก อันนี้ถ้างบมี จะจัดมาสักใบก็ไม่ว่ากันค่ะ ค่าใช่จ่ายตั้งแต่ 0-3,500 บาท 

6. ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ เช่น เข็มขัดพยุงครรภ์ รองเท้า

เข็มขัดหรือสายรัดนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเสริมค่ะ แต่แม่ๆบางรายที่มีอาการปวดหลังช่วงล่าง อุปกรณ์ตัวนี้ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ค่าเพราะมันจะช่วยกระจายน้ำหนักบริเวณเชิงกรานได้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนเรื่องรองเท้า หากคุ้นเคยกับการใส่ส้นสูงเมื่อทำงาน อาจจะต้องจัดงบสำหรับเลือกรองเท้าส้นแบนดีดีสักคู่สองคู่ ดูพื้นรองเท้าว่ายึดเกาะได้ดี นิ่ม ใส่สบาย คุณแม่บางรายมีอาการเท้าบวมจึงอาจจะต้องเพิ่มขนาดรองเท้าด้วย 

ค่าใช้จ่ายของสายรัดและรองเท้าขึ้นกับแบบ วัสดุและยี่ห้อ สายรัดเส้นนึงเริ่มตั้งแต่ 300-2,000 บาท รองเท้าคู่นึงประมาณ 500-3,000 บาท

 

ค่าใช้จ่ายก้อนนี้อาจจะดูไม่มาก แต่ก็อย่าลืมระมัดระวังเผลอจับจ่ายจนเพลิน เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าคลอด ค่าใช้จ่ายของลูก รออยู่นะคะ 

#การเงินฉบับคุณแม่ต้องรู้

#FinanceForMom

 

error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา