ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา
ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา
แน่ละ หลายคนคงงงว่าจะถามทำไม คนได้รับซอง ก็ต้องเป็นเจ้าของสิ
พอดีไม่กี่วันก่อนได้อ่านเจอข่าวที่ลูกสาวฟ้องพ่อแม่ ที่เก็บเอาเงินอั่งเปาของตนเองไว้ จำนวน 58,000 หยวน หรือเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ประมาณ 4.4 บาทต่อหยวน ก็เป็นเงิน 255,200 บาทเลยทีเดียว เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2018
.
จริงๆแล้วใครเป็นเจ้าของเงินในซองแดงกันแน่… ลูก หรือพ่อแม่
.
👉สำนักข่าว BBC รายงานว่า สาวมหาวิทยาลัยคนหนึ่งในยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้กล่าวว่า พ่อแม่ของเธอยักยอกเงินอั่งเปาที่ได้สะสมมาหลายปีของเธอไป และเธอตัดสินใจฟ้อง เพราะพ่อแม่ปฏิเสธที่จะจ่ายค่าเทอมให้กับเธอ ผลการตัดสินนั้น เธอเป็นฝ่ายชนะ และศาลสั่งให้พ่อแม่จ่ายเงินให้เธอเดือนละ 1,500 หยวน จนกว่าเธอจะจบมหาวิทยาลัย
.
มันเลยมีประเด็นว่า แล้วใครควรเป็นเจ้าของเงินนี้ละ ถ้าลูกได้อั่งเปามา
…มีสองความเห็นค่ะ
👉ความเห็นแรกบอกว่า พ่อแม่ก็ควรจะเก็บเงินนี้ไว้ เสมือนเป็นค่าชดเชยที่พวกท่านได้เลี้ยงดู ได้ใช้จ่ายไปเพื่อเลี้ยงดูลูก
.
พี่น้องชาวสิงคโปร์คู่หนึ่งกล่าวว่า “พ่อแม่ของหนูก็เก็บเงินพวกนี้เอาไว้ เพื่อถัวกับเงินที่ท่านก็ต้องจ่ายไปเป็นอั่งเปาให้กับคนอื่นเหมือนกัน” พี่น้องทั้งคู่ก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร เพราะท่านทั้งสองก็พร่ำสอนเสมอว่าเงินนั้นหามายากเพียงไร
.
นักเรียนชาวสิงคโปร์อีกคนกล่าวว่า “พ่อแม่หนูบอกว่า เงินจำนวนนี้ก็มาบรรเทาค่าใช้จ่ายอั่งเปาที่ต้องแจกจ่ายออกไปเหมือนกัน” เธอคิดว่ามันก็สมเหตุสมผลดี เพราะสาระสำคัญของการให้ซองแดงนี้ ไม่ใช่ตัวเงิน แต่ เป็นการแสดงออกถึงการให้ (the act of giving)
( อุ้ยขอเสริมนิดนึงว่า จริงๆแล้วเคล็ดการให้อั่งเปานี้ เพื่ออวยพร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้รับ เพราะสีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดีค่ะ )
.
สาววัย 27 ชาวฮ่องกงบอกกับ BBC ว่าเธอก็คิดเหมือนกันว่าพ่อแม่ควรเป็นฝ่ายเก็บเงินนี้เอาไว้ เพราะท่านต้องจ่ายค่าการศึกษา ให้เงินค่าขนม ค่าใช้จ่ายรายวัน และก็ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆทุกอย่างตั้งแต่เรายังเด็ก
.
👉แต่ก็มีเสียงที่ไม่เห็นด้วย เด็กหลายคนบอกว่า เงินก็ควรเป็นของผู้รับตามที่ผู้ให้ตั้งใจสิ
ผู้ใช้เวป Weibo รายหนึ่งกล่าวว่า “เงินนั้นตั้งใจที่จะมอบให้คุณ ดังนั้นก็ต้องเป็นของคุณสิ”
“พ่อแม่ฉันฝากเงินจำนวนนี้ในแบงค์ให้ฉัน และฉันก็จะได้รับกลับมาในภายหลัง” สาวสิงคโปร์วัย 28 รายหนึ่งกล่าว
ผู้ปกครองรายหนึ่งที่ทาง BBC สัมภาษณ์ก็เห็นด้วยว่า เด็กมีสิทธิ์ใน lucky money ก้อนนั้น
“สำหรับลูกของฉัน ฉันเก็บเงินพวกนั้นไว้ และจะคืนให้ลูกในอนาคต ฉันคิดว่าลูกควรได้รับเงินนั้น เพราะถ้าไม่มีลูก ก็จะไม่ได้รับเงินก้อนนี้มาตั้งแต่ต้นเช่นกัน”
เป็นยังไงกันบ้างคะ ป่าป๊าหม่าม้าทั้งหลาย มีความเห็นว่ายังไงกันบ้าง เห็นด้วยเหมือนกันค่ะว่า ควรเป็นของเด็กๆ ของลูกๆเรานี่ละ
.
พอได้รับเงินมาแล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อน เท่าที่อุ้ยสังเกตนะคะ มูลค่าหรือจำนวนเงินในซองไม่ได้เยอะเหมือนที่ใส่กันสมัยนี้ ( หรืออั่งเปาก็มีเงินเฟ้อกับเค้าด้วย 😚😙)

.

ใครเป็นเจ้าของเงินในอั่งเปา
.
🧧เมื่อก่อนให้ตามธรรมเนียม เหมือนสัญลักษณ์ของความโชคดี และอวยพรซึ่งกันและกัน เด็กก็ดีใจ ได้เงินมาเป็นค่าขนม ซื้อของที่อยากได้เล็กๆน้อยๆ มูลค่าไม่ได้มากอะไร
เทียบกับตอนนี้ พอเงินมันเยอะ ทีนี้พ่อแม่ก็ต้องเข้ามาจัดการ ช่วยเก็บ ช่วยบริหาร หลายบทความที่พูดถึงการออม การบริหารเงินอั่งเปายังไงให้เป็นเศรษฐีน้อยในวันหน้า การอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ถ้าเอาไปลงทุนตอนนี้จะโตเป็นเท่าไร ด้วยผลตอบแทนแบบนี้ บลา บลา บลา
.
แม้อุ้ยจะทำงานด้านวางแผนการเงิน ส่งเสริมให้คนออม ลงทุน แต่ก็ไม่ได้เห็นด้วย 100% ถ้าจะเอาเงินอั่งเปาไปออมหรือ ลงทุน #ทั้งก้อน อย่างน้อยเด็กก็ควรได้ลิ้มลองความสุขตรงนี้บ้าง พ่อแม่ก็จะมีบทบาทตรงนี้ที่จะช่วยแนะนำ ว่าลูกควรจะแบ่งเงินยังไง ออกเป็นกี่ส่วน เก็บมาใช้จ่ายเท่าไร ส่วนไหนออม ส่วนไหนทำอะไร อาจจะเหมือนกับการแบ่งเงิน 3กระปุก แบบนี้ก็ได้ https://bit.ly/30Wvz2N
.
การบริหารเงิน ไม่เพียงแต่มองด้านการออมด้านเดียว การรู้จักการใช้จ่ายลูกก็ควรเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน หลายคนบอกว่า การใช้เงินไม่ต้องสอนหรอก เดี๋ยวก็ใช้เป็นเอง
… แต่ถ้าอยากให้ #ใช้เงินอย่างรู้คุณค่า คงไม่เหมือนกันนะคะอุ้ยว่า
🧧เงินส่วนนึงที่แบ่งมาใช้ เชื่อว่า ไม่เยอะหรอกค่ะ (เพราะแม่คอยกำกับอยู่ 555) ลูกจะได้เรียนรู้เองว่า เค้าใช้จ่ายแบบนี้ถูกหรือไม่ ควรหรือไม่ควร หากผิดพลาดเค้าจะได้รู้
📍ผิดพลาดด้วยเงินไม่เยอะ เสียแต่เด็กๆ ดีกว่าไปผิดพลาดเรื่องการใช้เงินก้อนใหญ่เมื่อโตขึ้น
สำหรับอุ้ยเอง ก็เลือกแบบนี้ละค่า เห็นต่างได้นะคะ ยังไงก็ลองปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละบ้านดูค่ะ ^^
ว่าแล้วก็รีบหาที่เก็บอั่งเปาลูกก่อน 😂🤣
新年快乐
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา