หนี้ 4 ประเภท ที่คู่สมรสต้องร่วมรับผิดชอบ

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
หนี้ 4 ประเภท ที่คู่สมรสต้องร่วมรับผิดชอบ
หลังจากโพสต์ที่แล้วมีพูดถึงเรื่อง #สินสมรส เลยมีแม่ๆถามกันมาว่าแล้วหนี้สินละ ต้องร่วมชดใช้ ร่วมรับผิดชอบด้วยไหม
ซึ่งตามหลักแล้วเราก็จะดูว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ที่มีมาก่อนสมรส(จดทะเบียน)ไหม ถ้าเป็นหนี้ที่มีมาก่อนแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน etc. อีกฝ่ายก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนนี้ด้วยค่ะ
หลังแต่งงาน หากสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อหนี้ขึ้นมา ส่วนใหญ่มักจะเป็นหนี้ส่วนตัว รับผิดชอบกันเอง ถ้าไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ก็ต้องนำสินส่วนตัวมาชำระหนี้ ถ้าไม่พอก็ต้องนำสินสมรสส่วนของตัวเองมาชำระหนี้ค่ะ
📍📍 ที่น่าสนใจก็คือ จะมีหนี้อยู่ 4 ประเภท ที่ไม่ว่าสามีหรือภรรยาจะเป็นผู้ก่อหนี้ ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ เรียกสั้นๆว่า #หนี้ร่วม (ป.พ.พ. มาตรา 1490)
#1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดกิจการอันจำเป็นในครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรโดยควรแก่อัตภาพ
➡️ เช่น หนี้ที่สามีกู้มาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการศึกษาของลูก
#2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
➡️ เช่น ภรรยากู้ยืมเงินมาต่อเติม ปรับปรุงบ้านซึ่งเป็นสินสมรส
#3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
➡️ เช่น หนี้ที่สามีกู้มาเพื่อลงทุนเปิดร้านขายของที่ทำร่วมกัน
#4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (การให้สัตยาบันจะเป็นการให้ด้วยปากเปล่า หรือลงลายลักษณ์อักษรก็ได้)
➡️เช่น ภรรยาลงลายมือชื่อในฐานะพยานในสัญญากู้ยืมเงิน
.
.
สุดท้ายนี้อยากบอกว่า สามีภรรยาเมื่อตกลงเป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว เรื่องเงินเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกันค่า อย่าลืมว่า เค้าลำบาก เราก็ลำบาก #ชีวิตคู่
สำหรับรายละเอียดเชิงลึก อาจจะต้องปรึกษานักกฎหมาย หรือทนายค่ะ เพราะโดยทั่วไปอุ้ยจะใช้ข้อมูลทางการเงิน เช่น ทรัพย์สิน/ หนี้สิน etc. ของผู้รับคำปรึกษา/ลูกค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดทำแผนการเงินต่อไปค่า
📍 ไม่ว่าจะโสด ไม่โสด สถานะไหนก็ต้องวางแผนการเงินนะคะ ^^
คุณแม่อุ้ย #KanyaweeR
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา