ลูกเมียน้อยก็มีสิทธิในมรดกเท่ากับลูกเมียหลวง

KanyaweeR

KanyaweeR

นักวางแผนการเงิน CFP®
ลูกเมียน้อยก็มีสิทธิในมรดกเท่ากับลูกเมียหลวง
นักวางแผนการเงิน นอกจากจะเป็นที่พึ่งเรื่องเงินๆทองๆ เรื่องตัวเลขรายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สินต่างๆแล้ว เรายังเป็นที่ปรึกษาเรื่องอื่นๆ รับฟังเรื่องราว ปัญหาครอบครัวของผู้รับคำปรึกษาอีกด้วยค่ะ
.
เมื่อวานมีโอกาสได้แชร์เรื่องวางแผนการเงินให้น้องที่เพิ่งเรียนจบ “เงิน” จะเข้ามามีบทบาทอย่างไร ควรต้องรู้ ใส่ใจกับเรื่องใดบ้าง
.
แต่กลุ่มลูกค้าหลักที่อุ้ยดูแลจะเป็นกลุ่มคนที่มีครอบครัว มีลูกแล้ว
ดังนั้น เรื่องที่จะปรึกษาคงไม่พ้นเรื่องเรียนของลูก ค่าเทอม เงินเกษียณของตัวเอง และ ปัญหาครอบครัวไปจนถึงมรดก
.
.
มีเคสนึง น่าเห็นใจมาก ลูกค้าเป็นผู้หญิงอายุใกล้ 40 มีลูก 4 คนแต่สามีก็ไปมีครอบครัวใหม่ แม้เธอกับสามีจะจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เธอก็กังวล อยากรู้ว่าลูกที่เกิดกับภรรยาอีกคน ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ลูกเมียน้อย” ในอนาคตจะมีสิทธิในมรดกของสามีเธอหรือไม่
อุ้ยเลยไปหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คิดว่ามีประโยชน์
เลยนำมาแชร์ให้แม่ๆในเพจได้อ่านกันด้วยค่ะ
🔻
🔻
ในทางกฎหมาย แม้จะเป็นลูกนอกสมรส
หรือหากแม้ไม่ได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
สามีพาเมียน้อยไปโรงพยาบาลฝากท้อง
สามีแจ้งในใบเกิดว่าเป็นบิดา
สามีให้เด็กใช้นามสกุลตนเอง
สามียอมให้บุตรเรียกว่าตัวเองว่าพ่อ
เป็นต้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิรับมรดกบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมได้
📍สรุปคือ ถ้าสามีเรา จดทะเบียนรับรองลูกเมียน้อยเป็นบุตร
หรือแม้ไม่ได้จดแต่มีการรับรองโดยพฤตินัย ดังตัวอย่างข้างต้น
ทางออก คือ ทำพินัยกรรมเลยจ้า แต่เคสนี้ก่อนสามีจะมีบ้านเล็ก ได้ให้สามีทำประกันเน้นทุนสูง และใส่ผู้รับผลประโยชน์เป็นภรรยาหลวงไว้ก่อนแล้ว ถ้าสามีเป็นอะไรไป ภรรยาหลวงและลูกยังพอตั้งหลักได้อยู่
เป็นกำลังใจให้ทุกๆครอบครัวเลยนะคะ
คุณแม่อุ้ย #KanyaweeR
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
error: มีการป้องกันคัดลอกเนื้อหา